วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

TL, LM



ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less, Learn More
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less , Learn More ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ ได้ด้วยตนเอง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น


บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงหรือ Teach Less แต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นหรือ Learn More นั่นคือผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเรียนการสอน เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TL, LM ผู้สอนต้องคำนึงถึงคำถาม 3 คำถาม ได้แก่
1. ทำไมต้องสอน ?
2. สอนอะไร ?
3. สอนอย่างไร ?

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More
           การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธี แต่ต้องเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ที่โรงเรียน Raffles Girls’ School ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ พบว่าวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ คือ การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ซึ่งพัฒนาโดย Wiggins & McTighe ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้    
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้


การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่
1.     การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
2.     การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
3.     การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
       โดยที่ในขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถประยุกต์ใช้แนวการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction : CGI) ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ความสำคัญกับการคิดของผู้เรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน และเอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม มีโอกาสนำเสนอความคิดของตนเอง ร่วมกันอภิปราย ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับชีวิตจริงซึ่งสอดคล้องกับการจัดการ เรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พลเมืองเด็ก

กิจกรรมรักชาติ รักษ์ภาษาไทย
กิจกรรมสร้างสำนึกพลเมือง ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6
  



เพลงชาติไทย คนไทยคนไหนก็ร้องได้ แต่มีสักกี่คนที่เขียนได้ถูกต้อง เหล่าพลเมืองตัวน้อยจึงฝึกเขียนเพลงชาติลงบนกระดาษ ผิดถูกทบทวน ตัวบรรจงเต็มบรรทัด คัดให้สวยงาม สร้างความภาคภูมิใจในภาษาไทย หนึ่งในเอกลักษณ์ของชาติ


กิจกรรมพลเมืองเด็ก กิจกรรมสร้างสำนึกพลเมือง ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยเน้นการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการแก่ผู้เรียนในเชิงสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม หน้าที่พลเมือง อีกหนึ่งการบูรณาการดีๆกับ TeachLess LearnMore Pratom Somboonsard ครับ

ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับหมวด/กิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

กลุ่มกิจกรรม
/หมวดที่
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
2
3
4



ภาษาพาเพลิน

กิจกรรมคำศัพท์เด้งดึ๋ง
กิจกรรมเรียนรู้ทักษะภาษา ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปี่ที่ 1-6





เมื่อคำศัพท์ถูกจับมาบันทึกลงบนกระดาษขาว พับทบไปมา ขีดเขียนและระบายด้วยสีสันอันสดใส ด้านบนวาดภาพการ์ตูนสร้างสรรค์ หรือภาพสื่อความหมายของคำศัพท์ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สร้างสรรค์ความสุขให้กับเจ้าของผู้ลงมือประดิษฐ์  



กิจกรรมภาษาพาเพลิน เป็นกิจกรรมเรียนรู้ทักษะภาษา ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปี่ที่ 1-6 ซึ่งนอกจากการเรียนรู้ทักษะภาษาผ่านการเรียนรู้คำศัพท์วันละนิดเพื่อต่อยอดความรู้ ยังส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารแก่ผู้เรียนอีกด้วย 



และนี่คืออีกหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ กับ TeachLess LearnMore Pratom Somboonsard ครับ

ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับหมวด/กิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
กลุ่มกิจกรรม
/หมวดที่
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
2
3
4

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

D.A.R.E

หลักสูตร D.A.R.E
กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ทักษะชีวิต ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 - 6

โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ร่วมกับ สถานีตำรวจภูธรอำเภอนาทวี จัดการเรียนรู้หลักสูตร D.A.R.E สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โดยครูแดร์ที่ผ่านการอบรมจากโครงการ D.A.R.E ประเทศไทย เข้ามาเป็นวิทยากรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 14.30 15.30 น. เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ กับ TeachLess LearnMore Pratom Somboonsard ครับ
      

D.A.R.E.มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ
          ประการแรก คือ การให้พื้นฐานความรู้ กับนักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้สิ่งเสพติด ซึ่งนอกจากผลกระทบ ที่มีต่อร่างกายแล้ว ยังมีผลกระทบไปถึงด้านอื่นๆ ในชีวิตของ  นักเรียน ได้แก่ ด้านอารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจอีกด้วย
          ประการที่สอง โครงการ D.A.R.E. มุ่ง ที่จะสร้างทักษะและวิธีการในการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียน สามารถตัดสินใจได้ บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถต่อต้านการใช้สิ่งเสพติด ตลอดจนแรงกดดันจากเพื่อนร่วมวัย และการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
           ประการสุดท้าย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งของโครงการ คือ การเสนอทางเลือกให้กับนักเรียนนอกเหนือจากการที่นักเรียนจะหันไปใช้สิ่งเสพติด


            D.A.R.E. เป็น โครงการที่มีลักษณะเป็นสากล ถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่ง แตกต่างไปจาก โครงการที่ถูกออกแบบมา เพื่อใช้กับนักเรียนที่จัดอยู่ในประเภท กลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะโครงการนี้ มุ่งไปที่เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 และปีที่ 6 เป็นหลัก เนื่องจากผลการวิจัยจำนวนมากชี้ให้ เห็นว่า เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เปิดรับต่อข้อมูล ในการต่อต้านการใช้สิ่งเสพติดได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ใกล้จะเข้าสู่ช่วงของการ ใคร่รู้ใคร่ลอง


หลักสูตร D.A.R.E. มุ่งพัฒนาความรู้และทักษะ ในด้านต่างๆ ได้แก่
1) การรับรู้ข้อมูลต่างๆ
2) การตระหนักถึงแรงกดดัน
3) ทักษะการปฏิเสธ
4) การใคร่ครวญถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งและความเสี่ยง
5) ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการติดต่อสื่อสาร
6) การตัดสินใจ
7) ทางเลือกที่เป็นประโยชน์



ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับหมวด/กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
กลุ่มกิจกรรม
/หมวดที่
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
2













3













4